ชุมชนมุสลิมดอยวาวี เชียงราย

มุ่งสู่ชุมชนมุสลิมดอยวาวี เชียงราย



เดิมพื้นที่ตำบลวาวีทั้งหมดเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย คือ หมู่ที่ 15 แต่ก่อนคำว่า วาวี นั้นชื่อ วะวี ซึ่งอาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นชื่อเมืองหนึ่ง อยู่ในเขตประเทศพม่า และราษฎรในเมืองนั้น ได้เดินทางมาติดต่อค้าขาย และอพยพมาตั้งหลักแหล่งเป็นกลุ่มแรกจึงตั้งชื่อเหมือนกับเมืองที่อพยพ ผสมกับชนเผ่าเดิมที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วคือ เผ่ามูเซอ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนฮ่อมาติดต่อค้าขายด้วย และพบว่ามีพื้นที่บริเวณนี้มีทำเลดี ปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ผลดี โดยเฉพาะ ต้นชาหรือต้นเมี่ยงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงขยายชุมชนจัดตั้งเป็นหย่อมบ้านต่างๆ ที่ประกอบด้วยหลายชนเผ่า และเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน มีทั้งหมดด้วยกัน 7 เผ่าด้วยกัน คือ อาข่า จีน(ยูนาน) ปากาญอ (กระเหรี่ยง) มูเซอ (ลาหู่) เย้า (เมี่ยง) ลีซอ (ลีซู) และไทยใหญ่ ที่มีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบอยู่รวมกันอย่างสมานฉันท์ เอื้ออาทรต่อกัน



คำว่า วะวี ก็แผลงเป็น วาวี เพราะพูดง่ายกว่า นับจากชาวจีนฮ่อได้ย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่หมู่บ้าน และเรียกจนถึงปัจจุบัน
บนดอยวาวียังมีความเป็นเอกอุอีกอย่างหนึ่งที่ชวนให้ ใครๆ หลงใหล หลงรส นั่นก็คือ เสน่ห์แห่ง “ชา” ที่ชาวบ้านบนดอยวาวีปลูกกันเป็นอาชีพหลักอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะที่มีมีชาวจีนฮ่อหรือจีนยูนนานมาอาศัยอยู่ยุคเดียวกันกับกองพล 93 ที่ดอยแม่สลอง (ที่ขึ้นชื่อเรื่องชาเช่นกัน) ส่งผลให้ดอยวาวีนิยมปลูกชากันมาก ประกอบกับบริเวณนี้มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะกับการปลูกชา … และที่น่าสนใจมากก็คือ การที่ได้รู้ว่าในสมัยก่อนนั้นนิยมนำใบชามาทำเมี่ยงมากกว่า และในปีพุทธศักราช 2467 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำเมี่ยงครั้งสำคัญ คือพ่อเฒ่า (ชาวจีนฮ่อ) ได้พบกับพ่อค้าชาวจีนแต้จิ๋วได้แนะนำกรรมวิธีการผลิตชาจากยอดอ่อนต้นชา พ่อเฒ่าจึงตัดสินใจทำชาตามคำแนะนำ และสามารถสร้างรายได้ที่ดีกว่าการทำเมี่ยง การจัดเก็บง่าย ขนส่งสะดวก และได้ราคาขายดีกว่า ต่อมาพี่น้องชาวจีนและชาวเขาที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงก็หันมาทำชาจากยอดต้นชา ทำให้ไร่ชาเพิ่มจำนวนมากขึ้น ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตเริ่มดีขึ้น
ที่นี่มีโรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อ โรงเรียนกวางฟูวิทยาคม … เด็กนักเรียนตำบลวาวี สามารถเรียนภาษาจีนได้ฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก จึงเป็นแหล่งผลิตผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษาจีนอย่างดีเยี่ยมเพราะมีครูจากไต้หวันมาสอนให้โดยเด็กนักเรียนต้องพูดภาษาจีนกันทุกคนภายในโรงเรียน เมื่อเรียนถึงขั้นสูงยังมีทุนให้ไปเรียนต่อยังประเทศไต้หวันอีกด้วย....

(ที่มา http://www.oknation.net/blog/supawan/2009/01/15/entry-1)




ในส่วนของชาวมุสลิมมีอยู่ประมาณ ๔๐ หลังคาเรือน จำนวนสัปปุรุษ มีจำนวน สองร้อยกว่าคนตามคำบอกเล่าของอดีตกำนัน ชื่อเรียกกันว่า กำนัน ป๋อง จากเอกสาร ที่ระลึกงานเมาลิด ปี ฮ.ศ. ๑๔๒๗ มัสยิดอัฏฏออะต์-วาวี (๓๐ เมษายน ๒๕๔๙) ได้เล่าถึงความเป็นมาของมัสยิดไว้ว่า เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๗ มีบุคคลคณะหนึ่ง ที่นับถือศาสนาอิสลาม อพยพมาจากมณฑลยูนาน ได้มาปักหลักอยู่ที่หมู่บ้านวาวีแห่งนี้ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ใดมีมุสลิม ที่นั้นต้องมีมัสยิด ไว้เพื่อเป็นศูนย์รวมของชาวมุสลิมในการทำการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า ปรึกษาหารือ กันในเรื่องราวต่าง ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม ที่สำคัญที่สุดคือการเรียนการสอนในเรืองการปฏิบัติของศาสนา แกนนำในขณะนั้นจึงได้ร่วมกันสร้างมัสยิดขึ้น ด้วยแรงศรัทธาของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่ เป็นอาคารทำด้วยไม้หลังคามุงจาก แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสังกะสีและหลังคามุงกระเบื้องตามลำดับ
เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๒๔ ได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ในปีนั้นได้ ท่าน ยง ฟูอนันต์ เป็นกำลังสำคัญในการรวบรวมปัจจัยในการสร้างมัสยิดจนกระทั้งอาคารดังกล่าวได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา
คณะกรรมการมัสยิดได้ปรึกษาหารือกันเพื่อจัดสร้างมัสยิดหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่าโดยไม่ได้ทำการทุบหลังเก่าทิ้ง มีมติเห็นชอบให้สร้างมัสยิดหลังใหม่ โดยเริ่มจากชาวบ้าน คณะกรรมการร่วมลงขัน และพร้อมกันนั้น ก็ประกาศบอกบุญไปยังพี่น้องมุสลิมในภาคเหนือ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากพี่น้องมุสลิมเป็นอย่างดี โดยแฉพาะอย่างยิ่ง คุณ หน่าฉ่งหวู่ (โกตี๋) และ คุณราชัน รุจิพรรณ ซึ่งได้ให้การสนับสนุน ทุนในการก่อสร้าง จนกระทั้งสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ปัจจุบันมัสยิดอัฏฏออะต์-วาวี ได้ตั้งเด่นงามสง่าคู่กับดอยวาวี สู่สายตาของพี่น้องมุสลิม และต่างศาสนิกและจะคงอยู่ต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในอนาคต เป็นที่พึ่งทางใจของชาวมุสลิมในพื้นที่ตลอดไป

รายงานจากพื้นที่โดย นายชุมพล ศรีสมบัติ



ชาบนดอยวาวีมีทั้งชาพันธุ์พื้นเมืองสายพันธุ์ “อัสสัม” ชาสายพันธุ์ไต้หวันอย่างชิงชิง เบอร์ 12, 13 และ ชา “อู่หลง” ที่มีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะดอยวาวีถือเป็นแหล่งปลูกชาอู่หลงแห่งแรกของเมืองไทย … เครดิตเรื่องของชาอู่หลงนี้ต้องยกให้กับ ลุงพังโก : พินิจ พิทักษ์วารี ชายอายุ 60 กว่าๆ ผู้ที่ติดใจในรสชาติชาอู่หลงจนถึงขนาดแอบลักลอบนำต้นชาอู่พันธุ์ดีหลงเข้ามาปลูกในเมืองไทย เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว และลองผิดลองถูกอยู่ 8 ปี จนปัจจุบันได้พัฒนาเป็นชาอู่หลงแบบไทยๆ ที่รสชาติยอดเยี่ยมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอู่หลงของไต้หวันแถมยังส่งไปตีตลาดที่ไต้หวันอีกด้วย


แม้ไม่ใช่ผู้พิศมัยชาในระดับแฟนพันธุ์แท้ แต่เมื่อเราได้ลิ้มลองชาอู่หลงก้านอ่อนบนดอยวาวีแล้ว บอกได้คำเดียวว่า “ยอดเยี่ยมค่ะ” เพราะกลิ่นชาหอมกรุ่น ส่วนรสชาติก็กลมกล่อมละมุนละไม แถมยังได้สาวๆ ชาวจีนฮ่อหน้าตาจิ้มลิ้มมาชงชาและสอนวิธีดื่มชาให้อีก ก็ยิ่งให้ชาที่ดื่มมีรสหวานหอมเป็นพิเศษ จนฉันอดไม่ได้ต้องซื้อติดมือกลับมาชงดื่มต่อที่กรุงเทพฯ
นอกจากจะมีชาให้ชิมให้ช้อปแล้ วดอยวาวียังมีชาให้ชมอีกด้วยซึ่งนอกจากไร่ชาที่ชาวบ้านปลูกเรียงรายลดหลั่นไปตามไหล่เขาแล้ว ดอยวาวี ยังมีต้น “ชาพันปี” ที่บ้านใหม่พัฒนาเป็นหนึ่งในจุดสนใจทางการท่องเที่ยว ชาพันปีต้นนี้วัดเส้นรอบวงบริเวณโคนต้นได้ 150 ซม. สูงถึง 20 เมตร เป็นชาสายพันธุ์อัสสัมที่ขึ้นเองตามธรรมชาติบนดอยวาวีมาช้านานแล้ว ชาวบ้านนิยมนำใบมาทำ ”เมี่ยง” กินให้ความกระชุ่มกระชวย

เสียดายมากที่ตั้งใขจะแวะเข้าไปชม แต่เรามีเวลาไม่พอจึงไม่ได้เห็นต้นชาพันปีที่ว่ากันว่ามีขนาด “3 คนโอบ” ที่ว่าค่ะ

เดินชมบ้านเรือนของผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ค่ะ … บ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้เหมือนโรงเตี้ยมในหนังจีน สิ่งที่ฉันเห็นว่าน่าสนใจก็คือ เกือบจะทุกบ้านจะมีแผ่นกระดาษเขียนอักษรภาษาจีนติดอยู่หน้าประตู หรือข้างฝาบ้าน ฉันไม่รู้ว่าเขาดเขียนว่าอะไร … ใครบางคนบอกว่าเป็นคำถวายพระพรในหลวง

เราไม่มีโอกาสขึ้นไปในสัมผัสในส่วนของบ้านเรือนที่เห็นอยู่สูงขึ้นไปบนยอดเขาตามที่เห็นในรูป .. แต่จากการยืนมองจากไร่ชา พอจะบอกได้ว่า เป็นชุมชนที่มีทั้งผู้นับถือศาสนคริสต์ อิสลาม และพุทธศาสนา

เราเดินทางไต่ความสูงต่อขึ้นไปยังบริเวณที่มีการดำเนินธูรกิจไร่ชาอีกหลายแห่ง … ส่วนใหญ่ไร่ชาจะอยู่ในหุบเขาที่ให้มิติความงามของการทำเกษตรกรรมอีกแบบหนึ่ง ที่แปลกตากว่าพื้นที่ราบที่เราคุ้นเคยกันในภาคกลาง และภาคอืนๆในประเทศไทย
เลาลีรีสอร์ท … ที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวนิยมมาพัก ด้วยมีสิ่งอำนวยความสะดวกพอสมควร เช่น ห้องพักที่สะอาด สะอ้าน ริมหุบเขาที่มีต้นชาปลูกเรียงราย ลดหลั่นกันลงไปยังหุบเขาเบื้องล่าง … เส้นสายของแนวต้นชานำสายตาไปสู่ศาลาทรงจีนกลางสระน้ำขนาดย่อม ณ กึ่งกลางหุบเขาสวย ขนาบด้วยต้นไม้ฟอร์มสวยชวนให้นึกถึงฉากของหนังจีนกำลังภายใน ในซีรี่ย์สุดฮิตในทีวี

เลาลีรีสอร์ท มีบริการร้านอาหาร ร้านขายสินค้าของท้องถิ่น … ใช่แล้วค่ะ ใบชา คือสินค้าที่ขึ้นหน้า ขึ้นตาของที่นี่ นอกจากนั้นยังมีน้ำส้มคั้นสดไว้บริการให้จิบพอชื่นใจ … เราพักทานอาหารกันที่นี่ แล้วเราก็พร้อมที่จะลุยสู่ยอดดอยที่สูงที่สุด รับกระแสลมหนาวเย็น และสัมผัสกับคำว่าดาวล้านดวงในวันพรุ่งนี้ค่ะ …


อ่านเรื่องชาต่อที่

http://www.oknation.net/blog/supawan/2009/01/15/entry-1)
ที่มา
ขอบคุณ : ข้อความบางส่วนจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน วันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2550
http:www.oknation.net/blog/supawan

ความคิดเห็น